9 ปัญหา Elliott Wave ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดมากที่สุด!


มหากาพย์! เถียงกันไม่รู้จบ 9 ปัญหาโลกแตกของ ทฤษฎี Elliott Wave ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดมากที่สุด 
( ภาค 1 )


การนับคลื่น Elliott Wave | ทฤษฎี Elliott Wave | Elliott Wave Theory





1. คลื่น 4 ห้าม Overlap คลื่น 1 ?


ไม่จริงครับ! คลื่น 4 สามารถ Overlap คลื่นที่ 1 ได้หรือที่ผมเรียกว่า คลื่น 4 กินหัวคลื่น 1 ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน เรียกรูปแบบนี้ว่า Terminal Impulse Wave หรือ หนังสือ Elliott Wave บางเล่ม เรียกว่า Diagonal Triangle (Ending Diagonal & Leading Diagonal) ขอยังไม่อธิบายรายละเอียดการเปรียบเทียบเนื้อหาข้อมูลจากตำราแต่ละเล่มนะครับเนื่องจากเนื้อหาบางส่วนยังมีความขัดแย้งกันระหว่าง ตำรา Elliott Wave แบบ Classic และ ตำรา Elliott Wave แนวประยุกต์ (บทเรียนถัดๆไปผมจะมาเปรียบเทียบเชิงลึกกันอีกครั้งรวมถึงเทคนิควิธีนำไปประยุกต์ใช้จริง)หากจะอธิบาย Concept ของคลื่น 4 Overlap คลื่น 1 แบบง่ายๆตามหลัก Dow Theory ให้เห็นภาพก็คือ เทรนขณะนั้นกำลังอ่อนแรง และจะส่งผลลัพธ์ให้เกิดการกลับตัวนั่นเอง


Maco / Focus-w2 ขายหมูกระจาย บันทึกเทรดสดชุดที่ 107



วิดีโอบันทึกเทรดสด สอนเล่นหุ้นเก็งกำไร แบ่งปันเทคนิคการเทรดกรณีศึกษาหุ้น Maco และ Focus-w2



สอนเล่นหุ้นเก็งกำไร บันทึกเทรดสด Maco / Focus-w2




นับคลื่นแบบนี้ ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม ?


"ผิด" หรือ "ถูก" หากนับคลื่นอีเลียต (Elliott Wave)
ดัชนี้ SET Index แบบนี้ ?



เป็นคำถามสั้นๆ แต่เหตุผลในการอธิบายนั้นยาวเหลือเกินครับ กับคำถามยอดฮิตที่ถามกันเข้ามาตลอดว่า “ กราฟ SET Index สามารถนับคลื่นเอลเลียต (Elliott Wave) แบบนี้ได้หรือไม่ ”




สอนวิเคราะห์ Elliott Wave ดัชนี SET Index
รูปที่ 1


แชร์ ! เทคนิคจังหวะเทรดเมื่อหุ้นวิ่งขึ้นมาไกลแล้ว..ทำอย่างไร?


วิดีโอบันทึกเทรดสด ชุดที่ 108 

วิเคราะห์จังหวะเข้าซื้อหุ้น Tmill และ DW set 50





Elliott Wave วิเคราะห์การเทรดเล่นหุ้นเก็งกำไร



คลื่นอีเลียต Elliott Wave ไฉนจึง (ไม่!) สำคัญ เรียนElliott Wave กันไปทำไม ?



เรียนElliott Wave กันไปทำไม...เรียนแล้วได้อะไร ?



“ หากไม่ประสบปัญหาในการเทรด ผมจะไม่มีวันศึกษา

ทฤษฎี Elliott Wave อย่างแน่นอน ”



Elliott Wave
Ralph Nelson Elliott is the father of the Wave


ศาสตร์ที่ว่าด้วยการอธิบาย การเคลื่อนที่ของราคาในรูปแบบแพตเทิร์น(Pattern)ต่างๆนั้น ถูกสะท้อนมาจากจิตวิทยามวลชนของคนที่อยู่ในตลาดหุ้น … คอนเซ็ปของทฤษฎีคลื่นอีเลียต ( Elliott Wave Theory ) มีเท่านี้จริงๆ แต่ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงกันมากที่สุดคือ ความชัดเจนของทฤษฎีถึงการนำมาใช้จริงในทางปฏิบัติ ว่าจะใช้ในการวิเคราะห์จริงได้อย่างไร หากเราพิจารณาโครงสร้างหลักของ ทฤษฎี Elliott Wave อย่างผิวเผินแล้วจะพบว่า การเคลื่อนที่ของราคาจะเกิดเป็นรูปแบบขาขึ้น คลื่น 1 ย่อลงคลื่น 2 พุ่งพรวดคลื่น 3 ย่ออีกนิดคลื่น 4 และก็ขึ้นอีกยกคือคลื่น 5 พอจบขาขึ้นชุดใหญ่แล้ว ก็ถึงตาขาลงบ้าง คือคลื่น a b c ตามลำดับ อย่างที่เราได้เคยเรียนรู้กัน


คลื่นอีเลียตกับนักสืบบทเรียน Elliott Wave ที่ทฤษฎีไม่เคยสอนเรา!



บท เรียนElliott wave เหตุใดทฤษฎีจึงไม่สอนเรา ว่านำความรู้ไปใช้อย่างไร ???




บ่อยครั้งเกิดคำถามขึ้นกับตัวเองว่าเพราะเหตุใด ? เราจึงไม่สามาถนำเอาความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หุ้นได้จริง ทั้งที่เราสามารถมารถจดจำกฎเกณฑ์สำคัญๆขอทฤษฎี Elliott Wave ในหัวข้อต่างๆได้อย่างแม่นยำ



ถูกต้องครับ! หากคุณได้ประสบกับปัญหาแบบเดียวกับที่ผมพบ แสดงว่าคุณกำลังศึกษา ทฤษฎี Elliott Wave มาถูกทางแล้วครับ

อย่างที่ผมได้เคยอธิบายไว้ในบทความก่อนหน้าไว้ว่า "ทฤษฎีคือเนื้อหาเชิงวิชาการ แต่การจะนำเนื้อหาเชิงวิชาการมาใช้ให้ได้จริงนั้น มันต้องมีเทคนิคส่วนตัวประยุกต์ใช้ด้วย" จึงจะส่งผลให้เกิดการวิเคราะห์โดยอิงทฤษฎีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สรุปง่ายๆเลยคือ ตำรา Elliott Wave อธิบายเพียงแต่ทฤษฎีและหลักการเชิงวิชาการเท่านั้น แต่ไม่ได้สอนว่าจะนำเนื้อหาเชิงวิชาการดังกล่าวมาใช้ร่วมกับกราฟจริงได้อย่างไร มีขั้นตอนและหลักการวิเคราะห์อย่างไรบ้าง ???


ดังนั้นหากเราต้องการที่จะนำข้อมูลทางทฤษฎีมาใช้ให้ได้จริง เราจำเป็นต้องมีมุมมองและเทคนิคส่วนตัว(ของแต่ละบุคคล)มาประยุกต์ใช้ด้วย แต่เทคนิคมุมมองดังกล่าวที่นำมาประยุกต์ใช้นั้น ต้องไม่ขัดแย้งกับทฤษฎีด้วยนั่นเอง หลายท่านที่ได้อ่านบทความถึงบรรทัดนี้แล้วอ่านจะมีเกิดความมึน งง! เนื้อหาเพราะยังไม่เข้าใจและไม่เห็นภาพตัวอย่างที่ชัดเจน แต่ไม่เป็นไรเดี๋ยวผมมีตัวอย่างอธิบายเพื่อให้คุณได้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น


เทคนิคที่ผมจะอธิบายในส่วนนี้คือคอนเซ็ปที่ผมมองว่าสำคัญที่สุดของการวิเคราะห์ ผมเรียกคอนเซ็ปขั้นตอนการวิเคราะห์นี้ว่า " การสร้างเงื่อนไขสมมติฐาน " หลายครั้งมีนักลงทุนที่ส่งแบบแผนมุมมองการวิเคราะห์คลื่นอีเลียตมาให้ผมช่วยพิจารณา ส่วนใหญ่ร้อยละ 99% มักมีรูปการวิเคราะห์ที่เหมือนกัน (แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ถูกต้องนะ) คือ วิเคราะห์คลื่น Elliott Wave โดยมีแบบแผนการเคลื่อนที่ของราคาในรูปแบบเงื่อนไขทิศทางเดียว (มีเพียงแบบแผนเดียว , Choice ตัวเลือกเดียว) โดยไม่ได้สร้างกรณีการวิเคราะห์สมมติฐานเงื่อนไขการเคลื่อนที่ของราคาในรูปแบบทิศทางอื่นๆไว้รองรับด้วย ประมาณว่า ฉันจะนับ(มโน)คลื่นอีเลียตแบบนี้ ดังนั้นราคาก็จะต้องเคลื่อนที่ในแบบเช่นเดียวกับที่ฉันนับไว้ด้วย อะไรทำนองนั้น !! ซึ่งสัจธรรมความจริงแล้วมันไม่มีทางที่เกิดผลลัพธ์ตามที่เราวิเคราะห์ไว้ เป๊ะๆ เสมอไปทุกครั้งหรอกจริงไหมครับ ?


แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากราฟที่คุณนับคลื่นอีเลียตนั้นจะไม่ถูกต้องนะครับ เพราะการเคลื่อนที่ของราคา ณ ทรงกราฟลักษณะดังกล่าวนั้นสามารถเคลื่อนที่ไปยังทิศทางอื่นๆได้อีกมากมาย โดยการเคลื่อนที่ของราคายังอยู่ภายใต้ขอบเขตอัตราส่วนของทฤษฎีที่ได้กำกับไว้ ...




สอนElliottwave | เรียนElliott Wave | ทฤษฎีElliott Wave



Elliott Wave กับ นักสืบ (2)


สอน Elliott Wave ให้เข้าใจถึงกลไกการวิเคราะห์ที่หลากหลายมิติ จากการสร้างเงื่อนไขและสมมติฐานในการวิเคราะห์ ...




     จริงๆแล้วเนื้อหาในส่วนนี้ผมเคยได้เขียนรายละเอียดอธิบายไว้ใน หนังสือ Elliott Wave ผลงานเขียนของผม ชื่อ “เล่นหุ้นอย่างไร ไม่มโน” รุ่น Limited Edition บทความนี้ผมขอนำกลับมาเขียนและเรียบเรียงเนื้อเรื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเกิดมิติในกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่หลากหลายมุมมองมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่ผมกำลังจะอธิบายดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับบทความสั้นๆ แนวสืบสวนการค้นหาความจริงจากข้อมูลและหลักฐานที่ปรากฏอยู่ ว่าข้อมูลที่ปรากฏขึ้นนั้นสามารถวิเคราะห์เพื่อสร้างสมมติฐาน หาแนวทางโอกาสของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยคอนเซ็ปในการวิเคราะห์คือ สืบจากข้อมูลที่ปรากฏอยู่ เพื่อวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มเรียนรู้กันเลยครับ และบทสรุปท้ายบทจะอธิบายอีกครั้ง ว่าบทความที่ท่านจะได้ศึกษาดังต่อไปนี้ มันไปเกี่ยวข้องอะไรกับการวิเคราะห์ ทฤษฎี Elliott Wave





Elliott Wave กับนักสืบ 2




X