นับคลื่นแบบนี้ ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม ?


"ผิด" หรือ "ถูก" หากนับคลื่นอีเลียต (Elliott Wave)
ดัชนี้ SET Index แบบนี้ ?



เป็นคำถามสั้นๆ แต่เหตุผลในการอธิบายนั้นยาวเหลือเกินครับ กับคำถามยอดฮิตที่ถามกันเข้ามาตลอดว่า “ กราฟ SET Index สามารถนับคลื่นเอลเลียต (Elliott Wave) แบบนี้ได้หรือไม่ ”




สอนวิเคราะห์ Elliott Wave ดัชนี SET Index
รูปที่ 1




(รูปที่ 1)… สำหรับมุมมองของผมตอบว่า  “ นับได้ ”  ถ้าในกรณีมีข้อมูลกราฟเท่าที่ปรากฏอยู่ (ในกรอบสีน้ำเงินเส้นประ) แต่หากมีข้อมูลกราฟในอดีตมากกว่านี้การนับคลื่น Elliott Wave ในลักษณะดังกล่าวจะถือว่า “ ไม่ถูกต้อง ” 




เพราะอะไร ไปทำความเข้าใจกับเหตุผลกัน . . .  





เรียน Elliott Wave สอนนับคลื่นอีเลียต SET Index
รูปที่ 2



(จากรูปที่ 2) หาก SET Index ชุดคลื่นปัจจุบันวิ่งขึ้นในลักษณะ Impulse Wave โดย Cycle ที่วิ่งขึ้นนั้นเป็น Sub Wave ย่อยของ คลื่น 1 ในคลื่น (1) ของคลื่น [3] ใหญ่ในวัฎจักร Super Cycle พบว่าคลื่น 4 ได้มีการปรับตัวเหลื่อมล้ำคลื่นที่ 1 หรือที่ผมเรียกว่า คลื่น 4 กินหัวคลื่น 1 ประเด็นการ Overlap นี้ไม่ผิดกฎนะครับ แต่มีข้อสังเกตบางอย่างที่ผมมองว่าขัดแย้งดังนี้




1. หากอิงเหตุผลข้อมูลตาม หนังสือ Elliott Wave อย่าง Mastering Elliott Wave 



จะเรียกรูปแบบนี้ว่า Terminal Impulse Wave เป็นสัญญาณการอ่อนแรงของเทรน ซึ่งควรเกิดขึ้นที่ปลายคลื่น แต่จากกรณีดังกล่าว Terminal Impulse Wave เกิด ณ ต้นคลื่น คือสถานะคลื่น 1 ของคลื่น (1) ในคลื่น [3] ใหญ่ของวัฏจักร Super Cycle ดังนั้นผลลัพธ์เมื่อราคาเคลื่อนที่จบคลื่น (1)แล้ว จำเป็นต้องย้อนกลับต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (1) เสมอ ซึ่งชุดคลื่นที่ย้อนกลับลงมานั้นจะไม่สามารถเป็นสถานะคลื่นที่ (2) ได้เนื่องจากผิดกฎเหล็กปรับตัวต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (1) นั่นเอง




2. หากอิง ตำรา Elliott Wave แบบ Classic อย่าง Elliott Wave Principle



การ Overlap คลื่น 4 และคลื่น 1 สามารถเกิดขึ้นได้ที่ต้นเทรน เรียกว่ารูปแบบนี้ว่า Leading Diagonal Triangle โดยโครงสร้างคลื่นย่อยภายในสามารถเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบคือ 5-3-5-3-5 หรือ 3-3-3-3-3 และมีข้อกำหนดระบุไว้คือ คลื่น 2 และคลื่น 4 ต้องเป็น Correction Zigzag เท่านั้น แต่จากกรณีดังกล่าวพบว่าคลื่น 4 ย่อยได้ปรับตัวในตระกูล Correction Flat รูปแบบ Irregular  Flat ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข

และข้อสังเกตอีกจุดหนึ่งคือ อัตราส่วนของรูปแบบ Irregular Flat ในคลื่น 4 นั้น ไม่เป็นไปตามกฎการปรับตัวตามทฤษฎีคือ คลื่น b ตามทฤษฎีต้องรีบาวด์อยู่ในช่วง101-123.6% ของคลื่น a  แต่จากรูปที่ 2 คลื่น b ได้ปรับอยู่ระหว่างช่วง 138.2-161.8 % ของคลื่น a



สรุปสิ่งที่ผมมองขัดแย้งในกรณีนี้คือ . . .



- Terminal Impulse Wave ไม่ควรเกิดขึ้นที่ต้นคลื่น

- โครงสร้างภายในของคลื่น 4 ที่ผิดกฎในรูปแบบ Leading Diagonal Triangle

- การปรับตัวเกินอัตราส่วนโควตาของ Irregular Flat ในคลื่น 4



แต่เดี๋ยวก่อน มีเหตุผลบางอย่างที่ดูเหมือนขัดแย้งกัน

 ในเรื่องคลื่น 5 ขยาย !





3. ทฤษฎีของคลื่น 5 ขยายระบุไว้ว่าเมื่อจบคลื่น 5 Extension แล้วราคาไม่ควร Completely Retrace 



คือราคาไม่ควรปรับตัวต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่นที่ 1 แต่จะสามารถ Completely Retrace ได้เฉพาะเมื่อเกิดคลื่น 5 ขยายใน Sub Wave ย่อยของชุดคลื่น ชุดสุดท้าย เช่น Impulse Wave หรือ Correction Wave 

เห็นไหมละครับว่าเหตุผลข้อ 1 ที่ได้อธิบายไปนั้น ดันมาขัดแย้งกับเหตุผลที่อธิบายไว้ล่าสุดคือข้อ 3 จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมแล้ว เราสามารถพบข้อขัดแย้งทางทฤษฎีได้ ซึ่งอาจเกิดจากการแปลความหมายทางทฤษฎีที่ผิดพลาดของผู้วิเคราะห์ หรือความขัดแย้งที่เกิดจากเนื้อหาของทฤษฎีเดิมที่มีอยู่ ดังนั้นเราจำเป็นต้องสร้างเงื่อนไขสมมติฐานการวิเคราะห์ โดยใช้ข้อกำหนดและขอบเขตจากอัตราส่วนการปรับตัวต่างๆตามทฤษฎีเข้ามาช่วยในการพิจารณา

 ยกตัวอย่างเช่น ชุดคลื่นที่วิ่งขึ้นนั้นจะไม่ใช่คลื่น  x5 ขยายก็ต่อเมื่อราคาวิ่งขึ้นเกิน 261.8% ของ คลื่น1และคลื่น 3 (External) รวมกัน หากราคาวิ่งขึ้นเกินเหนือระดับดังกล่าวก็จะส่งผลให้การวิเคราะห์นั้น ไม่ใช่คลื่น x5 ขยายแต่กลายเป็น Sub Wave ย่อยของ Impulse Wave คือ คลื่น (3) ใน [3] ของวัฏจักร Super Cycle เป็นต้น





เรียน Elliott Wave สอนเทคนิคอีเลียต
รูปที่ 3 คำถาม

คำถาม : เป็นไปได้หรือไม่ว่าห้าชุดคลื่นที่วิ่งขึ้นนั้น กำลังเคลื่อนที่เพื่อให้ครบสถานะคลื่น [3] ของวัฏจักร Super Cycle?


คำตอบ : หากชุดคลื่นที่วิ่งขึ้นนั้นกำลังเคลื่อนที่เพื่อให้ครบสถานะคลื่น [3] ของวัฏจักร Super Cycle สิ่งที่ผมมองขัดแย้งคือสถานะคลื่นที่ พบว่าอัตราส่วนความสัมพันธ์ไม่เป็นไปตามกฎของ Degree 33.3 % ขยายความเพิ่มเติมคือ การจะเป็นคลื่นถัดไปได้นั้นจำเป็นต้องมีอัตราส่วน Degree อย่างน้อย 33.3% ของคลื่นก่อนหน้า ดังนั้นคลื่นก่อนหน้าของคลื่น 1 จำเป็นต้องรีบาวด์ขึ้นไปอย่างน้อย 33.3% ของคลื่น C ในคลื่น [2] ใหญ่ของวัฏจักร Super Cycle นั่นเอง





คำถาม : เป็นไปได้หรือไม่ว่าห้าชุดคลื่นที่วิ่งขึ้นนั้น เคลื่อนที่จบครบสถานะคลื่น [3] ของวัฏจักร Super Cycle ไปแล้ว?


คำตอบ : เป็นไปไม่ได้ครับ เนื่องจากกฎเหล็กของคลื่น 3 จำเป็นต้องมีความยาวมากกว่าคลื่น 2 หรือ อธิบายง่ายๆคือ ราคาต้องมี New High สูงกว่ายอดคลื่น 1 ดังนั้นชุดคลื่นที่วิ่งขึ้นจะไม่ใช่สถานะคลื่นที่จบ ของคลื่น [3] ในวัฏจักร Super Cycle อย่างแน่นอน



เหตุผลทั้งหมดที่ผมได้อธิบายนั้นเป็นเพียงมุมมองและความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับกราฟตัวอย่างกรณีศึกษา หากคุณมีมุมมองหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสามารถคอมเม้นแนะนำ ปรึกษากันได้เต็มที่เลยนะครับ แลกเปลี่ยนความรู้กันเพื่อพัฒนาทักษะการเทรดไปพร้อมๆกันครับ หากต้องการศึกษาหลักการวิเคราะห์ Elliott Wave เชิงลึกในกรณีศึกษาต่างๆ สามารถศึกษาได้จาก


VDO Youtube ของผม ชื่อชุด 

สอน Elliott Wave เรียน Elliott Wave สำหรับนับคลื่น SET Index ” 



ชุดที่ 1-6 คลิ๊ก! ก็จะทำให้เข้าใจตัวอย่างหลักการวิเคราะห์คลื่นอีเลียตกรณีศึกษาของดัชนี SET Index ได้มากขึ้น หรือใครมี หนังสือ Elliott Wave ผลงานเขียนของผม “เล่นหุ้นอย่างไร ไม่มโน” ก็ลองศึกษาควบคู่กับบทความนี้ได้


มือใหม่ศึกษาแล้วหากไม่เข้าใจไม่เป็นไรนะครับ ค่อยๆศึกษาบทความเรียนรู้ สอนเล่นหุ้น เก็งกำไรจากเว็บไซต์หรือ VDO Channel ของผมก่อนได้ ผมจะ Update บทความเรียนรู้ต่างๆเป็นระยะ ทั้งความรู้ Basic และ Advance ที่จะเป็นประโยชน์กับการเทรดของคุณแน่นอน ฝากติดตาม “ www.mano-wave.com ” ด้วยนะครับ



-โต่งเต่ง-
20 ส.ค. 60




X