บท เรียนElliott wave เหตุใดทฤษฎีจึงไม่สอนเรา ว่านำความรู้ไปใช้อย่างไร ???
บ่อยครั้งเกิดคำถามขึ้นกับตัวเองว่าเพราะเหตุใด ? เราจึงไม่สามาถนำเอาความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หุ้นได้จริง ทั้งที่เราสามารถมารถจดจำกฎเกณฑ์สำคัญๆขอทฤษฎี Elliott Wave ในหัวข้อต่างๆได้อย่างแม่นยำ
อย่างที่ผมได้เคยอธิบายไว้ในบทความก่อนหน้าไว้ว่า "ทฤษฎีคือเนื้อหาเชิงวิชาการ แต่การจะนำเนื้อหาเชิงวิชาการมาใช้ให้ได้จริงนั้น มันต้องมีเทคนิคส่วนตัวประยุกต์ใช้ด้วย" จึงจะส่งผลให้เกิดการวิเคราะห์โดยอิงทฤษฎีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สรุปง่ายๆเลยคือ ตำรา Elliott Wave อธิบายเพียงแต่ทฤษฎีและหลักการเชิงวิชาการเท่านั้น แต่ไม่ได้สอนว่าจะนำเนื้อหาเชิงวิชาการดังกล่าวมาใช้ร่วมกับกราฟจริงได้อย่างไร มีขั้นตอนและหลักการวิเคราะห์อย่างไรบ้าง ???
ดังนั้นหากเราต้องการที่จะนำข้อมูลทางทฤษฎีมาใช้ให้ได้จริง เราจำเป็นต้องมีมุมมองและเทคนิคส่วนตัว(ของแต่ละบุคคล)มาประยุกต์ใช้ด้วย แต่เทคนิคมุมมองดังกล่าวที่นำมาประยุกต์ใช้นั้น ต้องไม่ขัดแย้งกับทฤษฎีด้วยนั่นเอง หลายท่านที่ได้อ่านบทความถึงบรรทัดนี้แล้วอ่านจะมีเกิดความมึน งง! เนื้อหาเพราะยังไม่เข้าใจและไม่เห็นภาพตัวอย่างที่ชัดเจน แต่ไม่เป็นไรเดี๋ยวผมมีตัวอย่างอธิบายเพื่อให้คุณได้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เทคนิคที่ผมจะอธิบายในส่วนนี้คือคอนเซ็ปที่ผมมองว่าสำคัญที่สุดของการวิเคราะห์ ผมเรียกคอนเซ็ปขั้นตอนการวิเคราะห์นี้ว่า " การสร้างเงื่อนไขสมมติฐาน " หลายครั้งมีนักลงทุนที่ส่งแบบแผนมุมมองการวิเคราะห์คลื่นอีเลียตมาให้ผมช่วยพิจารณา ส่วนใหญ่ร้อยละ 99% มักมีรูปการวิเคราะห์ที่เหมือนกัน (แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ถูกต้องนะ) คือ วิเคราะห์คลื่น Elliott Wave โดยมีแบบแผนการเคลื่อนที่ของราคาในรูปแบบเงื่อนไขทิศทางเดียว (มีเพียงแบบแผนเดียว , Choice ตัวเลือกเดียว) โดยไม่ได้สร้างกรณีการวิเคราะห์สมมติฐานเงื่อนไขการเคลื่อนที่ของราคาในรูปแบบทิศทางอื่นๆไว้รองรับด้วย ประมาณว่า ฉันจะนับ(มโน)คลื่นอีเลียตแบบนี้ ดังนั้นราคาก็จะต้องเคลื่อนที่ในแบบเช่นเดียวกับที่ฉันนับไว้ด้วย อะไรทำนองนั้น !! ซึ่งสัจธรรมความจริงแล้วมันไม่มีทางที่เกิดผลลัพธ์ตามที่เราวิเคราะห์ไว้ เป๊ะๆ เสมอไปทุกครั้งหรอกจริงไหมครับ ?
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากราฟที่คุณนับคลื่นอีเลียตนั้นจะไม่ถูกต้องนะครับ เพราะการเคลื่อนที่ของราคา ณ ทรงกราฟลักษณะดังกล่าวนั้นสามารถเคลื่อนที่ไปยังทิศทางอื่นๆได้อีกมากมาย โดยการเคลื่อนที่ของราคายังอยู่ภายใต้ขอบเขตอัตราส่วนของทฤษฎีที่ได้กำกับไว้ ...
ดังนั้นจะดีกว่าหรือไม่หากเราสามารถสร้างแบบแผนสมมติฐานการวิเคราะห์ของราคาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้มุมมองการวิเคราะห์ของเราอยู่ในแผนการที่วางไว้ตลอด (อยู่ในเกมที่เราวิเคราะห์ไว้) ซึ่งแบบแผนแต่ละแบบแผนก็จะกรณีขอบเขตเงื่อนไขการเคลื่อนที่ของราคาที่เชื่อมโยงกันอย่างอัตโนมัติ โดยสามารถอธิบายได้ว่าแบบแผนใดควรให้น้ำหนักการวิเคราะห์ที่มากหรือแบบแผนใดเราควรให้นำ้หนักการวิเคราะห์น้อยกว่ากันเพราะเหตุใด แล้วเราก็สามารถวิเคราะห์สมติฐานทิศทางผลลัพธ์ได้ต่อว่าหากราคาเคลื่อนที่ไปยังแบบแผนดังกล่าวที่เราได้ออกแบบไว้ข้างต้น ผลลัพธ์ของราคาตามทฤษฎีควรจะเป็นเช่นไร เป็นต้น
บทความถัดไปผมจะอธิบายให้คุณเข้าใจและเห็นภาพตัวอย่างที่ชัดเจนมากขึ้นกว่านี้ ว่าการวิเคราะห์ Elliot Wave ในแบบเทคนิคมุมมองคอนเซปของผมคือ " การสร้างเงื่อนไขสมมติฐาน " ที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นนั้น หน้าตารูปแบบการวิเคราะห์จะเป็นอย่างไร โดยผมจะอธิบายเล่าผ่านเป็นนิทาน เพื่อให้คุณได้เข้าใจและเห็นภาพความเชื่อมโยงของกาวิเคราะห์ของทฤษฎีคลื่นอีเลียตมากขึ้น ผ่านบทความนิทานที่ชื่อว่า คลื่นอีเลียต กับ นักสืบ 2
รอติดตามบทความถัดไปนะครับ หรือท่านใดต้องการศึกษามุมมองวิเคราะห์ " การสร้างเงื่อนไขสมมติฐาน " ในทางปฏิบัติ เพื่อศึกษาเรียนรู้แบบให้เห็นภาพชัดเจนมากกว่านี้ (รอบทความที่ผมกำลังจะอัพเดทไม่ไหว) ก็ให้ข้ามขั้นตอนไปศึกษาในเว็ปบล๊อก สอนเล่นหุ้น นี้ที่ VDO หัวข้อชุด สอนElliott Wave จากแทปเมนูเบาร์ด้านบนของเว็บบล๊อกนี้ซึ่งมีให้เรียนรู้กันหลายวิดีโอมากๆ หากคุณได้ศึกษาความรู้ในส่วนนั้น ก็จะทำเข้าใจกระบวกการวิเคราะห์ที่ชัดเจนมากขึ้นด้วยและสามารถตอบโจทย์ปัญหา “ บท เรียนElliott wave เหตุใดทฤษฎีจึงไม่สอนเรา ว่านำความรู้ไปใช้อย่างไร ” ได้อย่างแน่นอนครับ
ศึกษาชุดวิดีโอต่างๆเกี่ยวกับหลักการ "สร้างเงื่อนไขสมมติฐาน"การวิเคราะห์ทฤษฎี Elliott Wave เชิงลึกไดที่หัวข้อต่างๆ |
โต่ง-เต่ง
17 ก.ค. 60