Elliott Wave ใช้(ไม่)ยาก! ใครๆก็นับคลื่นได้
ง่ า ย แ ค่ ไ ห น ไ ป ดู กั น . . .
บทความนี้จะมาสอนหรือแชร์เทคนิควิธี การนับคลื่น Elliott Wave แบบง่ายๆ สไตล์โต่ง-เต่ง ที่ผมได้คิดค้นขึ้น โดยใช้อินดิเคเตอร์ (Indicator) มาช่วยจับ เพื่อนับสถานะคลื่น Elliott Wave ให้ง่ายขึ้น และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ซึ่งบทความนี้เคยถูกแผยแพร่ลงในแฟนเพจเฟสบุ๊คของผมแล้ว โดยเผยแพร่เฉพาะในส่วนของรูปภาพสไลด์ แต่ยังไม่ได้อธิบายรายละเอียดและเงื่อนไขที่ชัดเจน
ผมจึงขอใช้พื้นที่ในเว็บบล๊อก 'มโน-เวฟ ดอทคอม' ผ่านบทความนี้อธิบายรายละเอียด และเงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับวิธีนับคลื่น Elliott Wave ในแบบฉบับมุมมองของผม
หากใครเคยติดตามผลงานเขียน
หนังสือ Elliott Wave ของผมมาบ้างแล้ว "เล่นหุ้นอย่างไร ไม่มโน รุ่น Limited Edition " ก็น่าจะพอเข้าใจรายละเอียดที่ผมกำลังจะอธิบายต่อจากนี้ได้ไม่ยาก
หากพร้อมแล้วไปเริ่มศึกษากันเลย...
W.5 = เกิดสัญญาณ Divergence กับยอด W.3
W.3 = เกิดสัญญาณ Convergence จากตัวเคลื่อนที่ช้า
W.2 = เกิดสัญญาณ Hidden Divergence จากตัวเคลื่อนที่ไว
W.4 = เกิดสัญญาณ Hidden Divergence จากตัวเคลื่อนที่ช้า
W.B = เกิดสัญญาณ Hidden Divergence จากตัวเคลื่อนที่ไว ( ในกรณีที่คลื่น B ไม่ใช่ Strong B) เป็นต้น
ทำความเข้าใจกันก่อน >>>
1.
เทคนิคการนับคลื่น Elliott Wave โดยใช้ Indicator เป็นเพียงเทคนิคมุมมองส่วนตัวของผมเท่านั้น ดังนั้นการนับคลื่น Elliott Wave จะถูกต้องหรือไม่นั้น จำเป็นต้องอิงบริบทจากอัตราส่วนของทฤษฎีเป็นหลัก
2.
การนับคลื่น Elliott Wave โดย Indicator เป็นเทคนิคและเป็นข้อสังเกต เพื่อช่วยให้การนับคลื่นง่ายขึ้นเท่านั้น ไม่ได้เป็นสิ่งการันตีเสมอไป ว่าสัญญาณ Indicator ต่างๆที่ปรากฎจะถูกต้อง
3. เราจำเป็นต้องมีกระบวนการสร้างเงื่อนไขสมมติฐานในการวิเคราะห์ทุกครั้ง จากข้อ 2 ที่ผมได้กล่าวไว้ว่าสัญญาณอินดิเคเตอร์ต่างๆที่ปรากฎขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งการันตีเสมอไปว่าจะถูกต้อง ดังนั้นเราจำเป็นต้องพิสูจน์ และสร้างเงื่อนไขสมมติฐานในการวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับทฤษฎีเสมอ
เช่น หากเห็นสัญญาณการเกิด Divergence เราก็จะพิจารณาว่าน่าจะเป็นสถานะคลื่นที่ 5 แต่อย่าลืมว่า สัญญาณ Divergence ที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากรูปแบบของ Correction Flat ในกลุ่มของ Strong B ที่มีคลื่นย่อยทำ New High เหนือจุดสิ้นสุดของคลื่นที่ 3 แล้ว Indicator ปรากฎสัญญาณ Divergence ก็เป็นไปได้ เช่น Irregular Flat / Irregular Failure Flat หรือ Running Flat
ดังนั้นเราจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์และสร้างเงื่อนไขสมมติฐานเพื่อพิสูจน์ว่าสัญญาณ Divergence ที่เกิดขึ้นเป็นสถานะคลื่นที่ 5 จริงหรือไม่ หรือ Divergence ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคลื่นย่อย ใน Correction คลื่น 4 ประเภท Strong B เป็นต้น
เงื่อนไขการใช้ (สำคัญมาก) >>>
- เทคนิคการนับคลื่น Elliott Wave โดยใช้ Indicator ชุดคลื่นที่ทำการนับนั้น จำเป็นต้องเป็นสถานะคลื่นประเภท "Impulse Wave (5-3-5-3-5) " เท่านั้น! นอกเหนือจากโครงสร้าง Impulse Wave แล้ว จะไม่สามารถใช้หลักการนับคลื่น Elliott Wave สไตล์โต่งเต่ง มาทำการนับได้ เช่น Correction Wave , Non Standard Correction Small x หรือ Large X
ยกเว้นจะพิสูจน์และวิเคราะห์สถานะคลื่นย่อยต่างๆของโครงสร้าง Correction Wave เช่น จะวิเคราะห์หาจุดจบของคลื่น C (5-3-5-3-5) ในโครงสร้างใหญ่ของ Correction Flat เป็นต้น
คำถาม : แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าชุดคลื่นที่ทำการนับสถานะคลื่นคือ Impulse Wave ?
คำตอบ : ไม่ยากเลยครับ ต้องเช็คกฎ 3 ข้อตามทฤษฎีคือ
- Essential Construction Rule : กฎโครงสร้างพื้นฐาน
- Alternation Rule : กฎการสลับ
- Extension Rule : กฎคลื่นขยาย
หากชุดคลื่นที่เราทำการวิเคราะห์ ไม่เข้ากฎ Impulse Wave 3 ข้อดังกล่าว จะถือว่าไม่ใช่ Impulse Wave และไม่สามารถใช้
เทคนิคการนับคลื่น Elliott Wave สไตล์โต่งเต่งมาทำการนับคลื่นได้
- สัญญาณ Hidden Divergence ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งการันตีว่าคลื่น Correction Wave จะปรับตัวจบ (2,4,b) เราจำเป็นต้องเข้าไปพิสูจน์สถานะคลื่นย่อยว่าคลื่นที่ครบวัฎจักรคลื่น Correction แล้วหรือยัง
เช่น คลื่น 4 ปรับตัวในรูปแบบ Correction Zigzag โดยธรรมชาติแล้วคลื่น a จะเกิดสัญญาณ Hidden Bullish Divergence เมื่อเทียบกับคลื่น 2 แต่สัญญาณดังกล่าวไม่ได้บอกว่าคลื่น 4 ปรับตัวจบนะครับ เพราะยังเคลื่อนที่ไม่ครบสถานะคลื่น เป็นเพียงคลื่น a ของ Correction Zigzag
สรุป หากเห็นสัญญาณ Hidden Divergence ไม่ได้หมายความว่าสถานะ Correction Wave นั้นปรับตัวจบ แต่เป็นเพียงสัญญาณที่บอกว่าชุดคลื่นที่ย่อลงมาคือสถานะของคลื่นปรับเท่านั้น