Elliott Wave กับ นักสืบ (2)


สอน Elliott Wave ให้เข้าใจถึงกลไกการวิเคราะห์ที่หลากหลายมิติ จากการสร้างเงื่อนไขและสมมติฐานในการวิเคราะห์ ...




     จริงๆแล้วเนื้อหาในส่วนนี้ผมเคยได้เขียนรายละเอียดอธิบายไว้ใน หนังสือ Elliott Wave ผลงานเขียนของผม ชื่อ “เล่นหุ้นอย่างไร ไม่มโน” รุ่น Limited Edition บทความนี้ผมขอนำกลับมาเขียนและเรียบเรียงเนื้อเรื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเกิดมิติในกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่หลากหลายมุมมองมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่ผมกำลังจะอธิบายดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับบทความสั้นๆ แนวสืบสวนการค้นหาความจริงจากข้อมูลและหลักฐานที่ปรากฏอยู่ ว่าข้อมูลที่ปรากฏขึ้นนั้นสามารถวิเคราะห์เพื่อสร้างสมมติฐาน หาแนวทางโอกาสของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยคอนเซ็ปในการวิเคราะห์คือ สืบจากข้อมูลที่ปรากฏอยู่ เพื่อวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มเรียนรู้กันเลยครับ และบทสรุปท้ายบทจะอธิบายอีกครั้ง ว่าบทความที่ท่านจะได้ศึกษาดังต่อไปนี้ มันไปเกี่ยวข้องอะไรกับการวิเคราะห์ ทฤษฎี Elliott Wave





Elliott Wave กับนักสืบ 2







“ มีชายคนหนึ่งนอนแน่นิ่งเสียชีวิตอยู่ในโรงภาพยนตร์ ผู้เสียชีวิตมีลักษณะอ้วนน้ำหนักประมาณ 90-100 กิโลกรัม จากการตรวจสอบไม่พบร่องรอยของการถูกทำร้าย ไม่มีทรัพย์สินใดๆสูญหาย ผู้ตายเสียชีวิตในลักษณะท่านั่ง หากไม่สังเกตจะไม่ทราบได้เลยว่าผู้ตายนั้นเสียชีวิตนานกว่า 40 นาทีแล้ว เนื่องจากท่านนั่งของผู้ตายมีพฤติกรรมเหมือนคนทั่วไปที่นั่งหลับขณะดูหนังในโรงภาพยนตร์ตามปกติ ในที่เกิดเหตุไม่พบหลักฐานใดที่ผิดสังเกตเพิ่มเติม นอกจากน้ำอัดลมขนาด 1ลิตร และป๊อปคอน 1 กล่องวางอยู่ข้างๆ ”



คำถามคือ ถ้าคุณเป็นตำรวจคุณจะวิเคราะห์สมมติฐานการเสียชีวิตของผู้ชายคนนี้อย่างไร ?


แน่นอนครับเราก็จะพิจารณาจากเหตุและผลของหลักฐานที่ปรากฏอยู่เป็นหัวใจสำคัญ เพื่อสร้างสมมติฐานแนวทางการวิเคราะห์ความน่าจะเป็น ว่าชายคนนั้นมีโอกาสเสียชีวิตได้ด้วยวิธีใดได้บ้าง เช่น


  1. ผู้ตายอาจจะเสียชีวิตจากโรคประจำตัว
  2. ผู้ตายอาจจะสำลักน้ำอัดลมหรือก็กิน ป๊อปคอนจนติดคอตาย
  3. อาจจะโดนวางยาพิษในน้ำอัดลม เป็นต้น

     นี้คือข้อสมมติฐานเบื้องต้นที่ชายคนนี้มีโอกาสเสียชีวิตได้ จากการพิจารณาหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในที่เกิดเหตุ แต่ใช่ว่าจะวิเคราะห์สมมติฐานออกมาแบบแหวกแนวมั่วซั่วไปหมด ไม่สมเหตุผลขัดแย้งกับหลักฐานที่ปรากฏอยู่ เช่น ผู้ตายอาจจะเสียชีวิตจากการถูกทำร้าย หรือผู้ตายอาจถูกข่มขืนจนเสียชีวิต ซึ่งทั้ง 2 กรณีดังกล่าวแทบจะไม่มีความเป็นไปได้เลย เนื่องจากจากหลักฐานที่ปรากฏอยู่นั้น พบว่าผู้ตายไม่มีร่องรอยจากการถูกทำร้ายและที่สำคัญผู้ตายเป็นเพศชายนะ ใครละจะมาข่มขืนผู้ชายร่างใหญ่ในโรงหนังล่ะจริงไหม!





     เห็นไหมละครับว่าการวิเคราะห์สมมติฐานในแต่ละข้อที่เราวิเคราะห์ขึ้นนั้น มันควรตั้งอยู่บนพื้นฐานเของเหตุและผลตามทฤษฎี ของขอบเขตของหลักฐานข้อมูลที่ที่ปรากฏอยู่ แล้วก็ค่อยๆสืบหาความเป็นไปได้ของแต่ละกรณีว่ามีโอกาสมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เพราะอะไร และมีเงื่อนไขขอบเขตของแต่ละกรณีเป็นอย่างไร เป็นต้น เช่น จากข้อสมมติฐานข้อที่ 1 หากผู้ตายเสียชีวิตจากโรคประจำตัวจริง ดังนั้น เงื่อนไขในการวิเคราะห์คือ ต้องสืบประวัติการรักษาตัวจาก รพ ที่ผู้เสียชีวิตเคยทำการรักษา หากสืบค้นแล้วไม่พบว่าผู้ตายเคยมีประวัติการรักษาตัว ดังนั้นสมมติฐานข้อนี้ก็จะตกไป และให้น้ำหนักการวิเคราะห์สมมติฐานในกรณีข้อที่ 2 และข้อที่ 3 แทนเป็นลำดับ เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ทฤษฎีคลื่นอีเลียต(Elliott Wave)หน้าที่ของเราคือ การประเมินสถานการณ์ว่าชุดข้อมูลจากทรงกราฟเทคนิคในปัจจุบันที่ปรากฏอยู่นั้น มีการปรับตัวตามอัตราส่วนของทฤษฎีในข้อใด? แล้วมีโอกาสเคลื่อนที่ไปยังทิศทางไหน ? รวมทั้งผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นนั้นควร เกิดขึ้นในทิศทางใดได้บ้างนั่นเอง


ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เนื้อหาในส่วนนี้ เราจะได้ศึกษา เรียน Elliott Wave เชิงลึกกันอีกครั้ง แบบ Step by Step ในบทเนื้อหาบทความถัดๆไป รวมถึง สอน Elliott Wave ให้ผู้อ่านได้ศึกษาเทคนิคมุมมองของผมที่นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อสร้างสมมติฐานให้เกิดกระบวนการวิเคราะห์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น อย่าลืมนะครับ!ว่า ทฤษฎี Elliott Wave อธิบายเพียงแต่ เหตุ และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงกระบวนการวิเคราะห์และหลักการสร้างสมมติฐาน เช่น หากราคาก่อตัวในรูปแบบตามทฤษฎีนี้ และปรับตัวในอัตราส่วนเท่านี้ จะมีโอกาสที่ผลลัพธ์ของราคาจะเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายที่เท่าไหร่ ทฤษฎีจะอธิบายประมาณนี้ครับคือ บอกเงื่อนไขและผลลัพธ์ตรงๆไปเลย แต่สิ่งที่ทฤษฎีไม่ได้สอนเราคือ มิติการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ว่าหากราคาก่อตัวและปรับตัวในอัตราส่วนดังกล่าวแล้ว จะสามารถเคลื่อนที่เป็นรูปแบบใดได้บ้าง มีเงื่อนไขการวิเคราะห์อย่างไร สร้างสมมติฐานอย่างไร  เป็นต้น







สรุป ทฤษฎี Elliott wave อธิบายเพียงแต่เหตุและผลลัพธ์ที่ราคามีโอกาสจะเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ได้อธิบายถึงกระบวนการวิเคราะห์ที่หลากหลายมิติ ดังนั้นเราเองต่างหากที่ต้องเป็นผู้วิเคราะห์สร้างเงื่อนไขสมมติฐานต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงเหตุและผลลัพธ์ของทฤษฎีให้สอดคล้องกับแนวคิดกันอย่างสมเหตุสมผลและเกิดเป็นรูปธรรมมากที่สุด






ยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น



จากรูปตัวอย่างดังต่อไปนี้เป็นการอธิบายเบื้องต้น(คร่าวๆ) ถึงการยกตัวอย่างการสร้างสมมติฐานในกรณีต่างๆและเงื่อนไขให้หลากหลายมิติ ของดัชนี SET Index ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคต จากการวิเคราะห์โครงสร้างในภาพใหญ่ TF Quarter วิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้ (เป็นตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้นนะ รายละเอียดการวิเคราะห์มีมากกว่านี้





สอน Elliott Wave ดัชนี SET Index กรณีที่ 1
รูปที่ 1
รูปที่  1 SET Index ปรับตัวในรูปแบบ Impulse Wave ซึ่งกำลังวิ่งขึ้นสู่ Impulse Wave คลื่นที่ 3






สอน Elliott Wave ดัชนี SET Index กรณีที่ 2
รูปที่ 2
รูปที่ 2 SET Index ปรับตัวในรูปแบบ Non Standard Correction (Large X wave)





รูปที่ 3
รูปที่ 3 SET Index ปรับตัวในรูปแบบ Impulse Wave ซึ่งกำลังปรับ Correction ของคลื่นที่ 2 เป็นต้น




      หลังจากวิเคราะห์สมมติฐานกรณีต่างๆที่ SET Index มีโอกาสเป็นไปได้ตามทฤษฎีแล้ว ลำดับต่อไปก็ให้เราสร้างเงื่อนไขขอบเขตของแต่ละกรณีที่อ้างอิงกับทฤษฎี โดยเราจำเป็นต้องตั้งคำถามเหล่านี้ให้ได้เสมอ และคำถามนั้นควรครอบคลุมกับการวิเคราะห์ทุกประเด็นอย่างละเอียด อย่างหลากหลายมิติ ยกตัวอย่างเช่น



  • หากกรณีที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 จะถูกต้องนั้น ราคาจำเป็นต้องเคลื่อนที่ถึงระดับราคาเท่าไหร่ เพราะอะไร ?
  • หากกรณีที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 จะถูกต้อง การปรับตัวต้องไม่ต่ำกว่าระดับราคาเท่าไหร่ เพราะอะไร ?
  • ถ้าหากราคาปรับตัวต่ำกว่าที่เงื่อนไขกำหนดแล้วล่ะ จะส่งผลให้รูปแบบสมมติฐานในกรณี 1 2 3 ผิดเงื่อนไขเพราะเหตุใด ?
  • หากกรณีที่ 1 หรือ 2หรือ 3 ผิดเงื่อนไขข้อสมมติฐานที่วิเคราะห์ไว้ แล้วรูปแบบดังกว่าจะเข้าสู่การวิเคราะห์ในกรณีใดได้บ้างเพราะเหตุใด?
  • และสมติฐานอื่นๆ

     เห็นไหมละครับว่าเงื่อนไขคำถามแต่ละข้อที่ได้สร้างขึ้นนั้นจะเป็นกรอบแนวคิดเพื่อให้เราสามารถวางแผนการวิเคราะห์ ทฤษฎี Elliott Wave ให้อยู่ในเกมเสมอ โดยหลักการวิเคราะห์นั้น ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลตามทฤษฎี เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ที่ได้นั้นปราศจากความ Bias หรือ “ความมโน” นั่นเอง




     หากคุณต้องการเรียนรู้ถึงตัวอย่างการวิเคราะห์ ทฤษฎี Elliott wave ถึงหลักการสร้างเงื่อนไขและสมมติฐานอย่างละเอียดแนะนำให้ศึกษาจาก ตำรา หนังสือ Elliott Wave ผลงานเขียนของผม หรือท่านที่ไม่มีหนังสือให้ศึกษาวิดีโอยูทูปวิเคราะห์ Set ครั้งที่ 1-6 จากเมนูบาร์ หัวข้อ สอน Elliott Wave แล้วพบกับบทความหน้าที่เนื้อหา ทฤษฎี Elliott Wave จะลึกและเข้มขึ้นตามลำดับ ค่อยๆเรียนรู้และศึกาไปพร้อมๆกันนะครับ...




- โต่งเต่ง - 

30 ก.ค. 60


X