คลื่นอีเลียต Elliott Wave ไฉนจึง (ไม่!) สำคัญ เรียนElliott Wave กันไปทำไม ?



เรียนElliott Wave กันไปทำไม...เรียนแล้วได้อะไร ?



“ หากไม่ประสบปัญหาในการเทรด ผมจะไม่มีวันศึกษา

ทฤษฎี Elliott Wave อย่างแน่นอน ”



Elliott Wave
Ralph Nelson Elliott is the father of the Wave


ศาสตร์ที่ว่าด้วยการอธิบาย การเคลื่อนที่ของราคาในรูปแบบแพตเทิร์น(Pattern)ต่างๆนั้น ถูกสะท้อนมาจากจิตวิทยามวลชนของคนที่อยู่ในตลาดหุ้น … คอนเซ็ปของทฤษฎีคลื่นอีเลียต ( Elliott Wave Theory ) มีเท่านี้จริงๆ แต่ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงกันมากที่สุดคือ ความชัดเจนของทฤษฎีถึงการนำมาใช้จริงในทางปฏิบัติ ว่าจะใช้ในการวิเคราะห์จริงได้อย่างไร หากเราพิจารณาโครงสร้างหลักของ ทฤษฎี Elliott Wave อย่างผิวเผินแล้วจะพบว่า การเคลื่อนที่ของราคาจะเกิดเป็นรูปแบบขาขึ้น คลื่น 1 ย่อลงคลื่น 2 พุ่งพรวดคลื่น 3 ย่ออีกนิดคลื่น 4 และก็ขึ้นอีกยกคือคลื่น 5 พอจบขาขึ้นชุดใหญ่แล้ว ก็ถึงตาขาลงบ้าง คือคลื่น a b c ตามลำดับ อย่างที่เราได้เคยเรียนรู้กัน



ประเด็นคือคนส่วนใหญ่รวมทั้งผมด้วยในอดีตเรียนรู้มาเท่านี้จริงๆ ก็เพราะเจ้าตัวคอนเซ็ปผิวเผินของทฤษฎีเองนี้แหละ ที่ทำให้คนเราเข้าใจผิดมากที่สุด โดยหยิบยกทฤษฎีมาใช้กันอย่างไม่ถูกต้อง อยากวางคลื่นตรงไหนก็วาง? อยากยัดคลื่นตรงไหนก็ยัด? อยากจะวัดตรงไหนก็วัด? “ มโน “ กันไปต่างๆนานๆ … แล้วก็สรุปในภายหลังว่า ทฤษฎี Elliott Wave นั้นใช้ไม่ได้จริง

พอหลายคนได้เข้ามาศึกษาแล้วก็พบกับความยากและความซับซ้อนของทฤษฎี ที่เสมอนเป็นกำแพงบังตานักลงทุนให้รู้สึก ขยาด! ไม่กล้าที่จะกลับเข้ามาศึกษาทฤษฎีเชิงลึกกันอีกครั้ง และแล้วก็สรุปเหมือนเดิมว่า “ทฤษฎี Elliott Wave นั้นใช้ไม่ได้จริง” ผมเองก็เคยมีมุมมองเช่นนี้ไม่ต่างอะไรกับคุณ


“ ท่ายากจะเรียนรู้มันไปทำไม เล่นท่าง่ายๆได้ตังค์ก็พอ ”

 ประโดยนี้คุ้นๆไหม ? เป็นคำพูดที่ผมใช้ปลอบใจตัวเองเวลาท้อ เมื่อศึกษา ทฤษฎี Elliott Wave แล้วไม่ประสบความสำเร็จ โดยหันหลังให้กับทฤษฎี และค้นหาระบบการเทรดในรูปอื่นๆอีกมากมาย เพื่อหวังแค่ว่าจะเจออะไรที่ง่ายกว่าการวิเคราะห์ Elliott Wave ทุกวันนี้ผมได้ข้อสรุปจากประสบการณ์เทรดของตัวเองแล้วว่า การวิเคราะห์การเทรดด้วยวิธีที่ “ง่าย” หรือวิธีที่ “ยาก” นั้น มันไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญคือ

" การวิเคราะห์การเทรดในแต่ละครั้ง เราสามารถมีเหตุผลรองรับการเทรด ที่เชื่อมโยงอ้างอิงกับทฤษฎีได้มากน้อยเพียงใดต่างหาก "


เนื่องจากข้อมูลทางทฤษฎีคือข้อมูลเชิงวิชาการที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย อ้างอิงออกมาเป็นสถิติ ผ่านการพิสูจน์ ทดสอบและเผยแพร่สู่สาธารณชน ที่เกิดการยอมรับมาอย่างยาวนานและได้บัญญัติขึ้นว่า “ทฤษฎี (Theory)” ดังนั้นหากเราวิเคราะห์การเทรดบนแนวทางทางทฤษฎีแล้วละก็ นั่นหมายถึงเรากำลังใช้หลักการวิเคราะห์ที่อยู่บนพื้นฐานของหลัก “ เหตุและผล ” นั่นเอง ?




ทำไมถึงต้องวิเคราะห์การเทรดให้อยู่บนพื้นฐานหลักของเหตุผลด้วยละ ?


เนื่องจากการเทรดที่ยึดแนวทางของเหตุและผลที่อิงตามทฤษฎีนั้น สามารถปฏิบัติหรือ “ทำซ้ำ” ได้ จากการนำข้อมูลเชิงปริมาณที่ทฤษฎีได้ระบุไว้ มาเป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์หรือคาดคะเนกับหลักสมมติฐานต่างๆที่ทฤษฎีได้กำหนดไว้ อย่างเช่นทฤษฎีคลื่น อีเลียต Elliott Wave จะใช้อัตราส่วนของเลขฟีโบแนนซี่ (Fibonacci number )ในการวิเคราะห์ร่วมเพื่อหาเป้าหมายของราคา หรือการพักตัวของราคา เป็นต้น

ซึ่งการเทรดในแต่ละครั้งจะมีเหตุผลรองรับ มีแบบแผนการเทรดที่ชัดเจนเสมอ โดยแผนการที่วิเคราะห์ออกมานั้น เราสามารถจะวิเคราะห์ได้อย่างอัตโนมัติ ว่าสามารถเชื่อมโยงการวิเคราะห์เข้ากับทฤษฎีในหัวข้อไหน ? เพราะอะไร ? แล้วผลลัพธ์ที่ออกมานั้นควรเป็นไปในทิศทางข้อสมมติฐานใดได้บ้าง ? นั่นเอง

ในส่วนของบทนี้จะขอเป็นการเกริ่นนำคร่าวๆก่อนนะครับ บทความหน้าผมจะยกตัวอย่างอธิบายถึงกรณีศึกษาต่างๆ ให้คุณได้เรียนรู้และเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นถึงการ สอนElliott Wave เพื่อนำความรู้ไปใช้จริงในทางปฏิบัติ

ฝากติดตามบทความชุดถัดๆไปด้วยนะครับ เนื้อหาจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในส่วนของ ทฤษฎี Elliott Wave , เทคนิคมุมมองต่างๆที่ผมตกผลึก รวมทั้งมุมมองส่วนตัวที่ผมเห็นแย้งกับ ทฤษฎี Elliott Wave ในหัวข้อต่างๆ รับรองเป็นเนื้อหาแปลกใหม่ใหม่แหวกแนว โดยที่คุณไม่เคยเรียนรู้จากที่ไหนแน่นอน…ผมกล้ารับประกัน!

หรือท่านใดใจร้อนอยากจะศึกษา ทฤษฎี Elliott Wave เชิงลึกในทางปฏิบัติ + เทคนิคการเทรดของผม ท่านสามารถศึกษา VDO Youtube เรียนElliott Wave ในหัวข้อต่างๆในเว็บบล็อกดังต่อไปนี้


" รวม VDO สอนเล่นหุ้น | เทคนิคเก็งกำไรหุ้นที่น่าสนใจ | สอนElliott wave "



สามารถศึกษา VDO วิเคราะห์ Elliott Wave บันทึกเทรดสดได้ที่หัวข้อเว็บบล๊ก ดังต่อไปนี้




-โต่งเต่ง-
12 ก.ค. 60



X