สรุปเนื้อหาหัวข้อสำคัญจากงานสัมมนาครั้งที่ 2



สรุปกันอีกครั้งกับเนื้อหา Elliott Wave ที่คาใจกันแบบ งงๆ
จากงานสัมมนาครั้งที่ 2 เพื่อเตรียมตัวเข้าสัมมนา Workshop ครั้งที่ 3 (ขยายที่นั่งเพิ่มด่วน!)


คอร์สสัมมนา Elliott Wave


บทความนี้จะสรุปเนื้อหาที่สำคัญจากงานสัมมนาที่ผ่านมา รวมทั้งรวบรวมคำถามและปัญหายอดฮิตจากผู้เข้าสัมมนาในงาน “ เลิกมึน เลิกมั่ว เลิกมโน Elliott Wave … สักที! ” ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้สัมมนาได้ศึกษาบทความและเตรียมความพร้อมสำหรับงานสัมมนา Workshop ครั้งถัดไป ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3 ก.พ.61 (ขยายที่นั่งเพิ่มเติมด่วน!)







1. รหัสคลื่นย่อยภายในของ Correction Wave ไม่ได้บ่งบอกถึงจำนวนคลื่นย่อย แต่บอกถึงประเภทของสถานะคลื่นที่สามารถเกิดขึ้นได้ใน Correction Wave

เช่น โครงสร้าง Correction Zigzag รหัสคลื่นย่อยภายในคือ 5-3-5 หลายคนอาจมีความเข้าใจว่ารหัสคลื่นย่อยภายในดังกล่าวหมายถึงจำนวนคลื่นย่อยที่ต้องเกิดกับ Correction Zigzag คือ
a= 5  คลื่น , b= 3 คลื่น, และ c = 5 คลื่น

ซึ่งแท้จริงแล้วรหัสคลื่นย่อยภายในที่ทฤษฎีได้กำหนดขึ้นนั้น บ่งบอกถึงประเภทของของสถานะคลื่น ไม่ได้บอกถึงจำนวนคลื่นย่อยอย่างที่หลายคนเข้าใจ

Correction Zigzag ที่ทฤษฎีได้กำหนดรหัสคลื่นย่อยภายใน 5-3-5 แท้จริงแล้วหมายความว่า คลื่น a และคลื่น c ต่างก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในสถานะประเภทเทรน (Impulse Wave หรือ Non Standard Correction Small x Wave) ส่วนคลื่น b สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานะ Side Way นั่นเอง (Standard Correction หรือ Non Standard Correction large X Wave)




2. Irregular Flat หัวข้อนี้ผมสอนผิดครับ ต้องขออภัย !

เดิมที่สอนไปคือ Irregular Flat คลื่น C ต้องมีความยาว 101-161.8% of a ในรูปแบบ Internal
แต่ที่ถูกต้องคือ คลื่น C ต้องมีความยาว 101% ของคลื่น b แต่จะไม่มีความยาวเกิน 161.8% of a ในรูปแบบ Internal จุดนี้ผิดพลาดต้องขออภัยด้วยครับ




3. Correction Flat หากคลื่น C ยาวจะต้องคำนวณสัดส่วนคลื่น C จากคลื่น B เสมอ ยกเว้นรูปแบบ Irregular Flat ที่คลื่น C ต้องคำนวณสัดส่วนความยาวของคลื่น A  เพราะเหตุใด

จากที่ผมศึกษาทฤษฎี ทฤษฎีก็ไม่ได้ระบุเหตุผลว่าเพราะเหตุใดจึงคำนวณสัดส่วนคลื่น C จากความยาวคลื่น A ในรูปแบบ Irregular Flat แต่จากการพิจารณามุมมองส่วนตัวของผมแล้วlk,ki5อธิบายเหตุผลได้ 3 ข้อดังต่อไปนี้

ข้อ 1. รูปแบบ Strong B คลื่น C มักจะมีความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็น"ราคา"หรือ"เวลา" เมื่อเทียบกับคลื่น A

ข้อ 2. รูปแบบ Irregular Correction คลื่น B ทำ New High และ New Low (สูงและต่ำกว่าคลื่น A ) ในอัตราส่วนที่ไม่มาก จึงถูกหักล้างกันกลายเป็นรูปแบบ Common Flat (C=A)

คำถาม แล้วรู้ได้อย่างไร ?
คำตอบ พิจารณาข้อถัดไปเลยครับ

ข้อ 3. เมื่อเกิดคลื่นขยาย (Extension) ที่มีปัจจัยเกิดจากการปรับตัวในรูปแบบ Irregular Flat จะมีผลลัพธ์ของคลื่นขยายเท่ากับการปรับตัวของ Common Flat นั่นเอง




4. ย้ำกันอีกครั้ง การใช้อินดิเคเตอร์สำหรับช่วยนับสถานะคลื่นเอลเลียต (Elliott Wave )

จำเป็นต้องทราบให้แน่ชัดว่า สถานะคลื่นดังกล่าวเคลื่อนที่ในรูปแบบ Impulse Wave  หากเคลื่อนที่ในรูปแบบอื่น จะไม่สามารถนำอินดิเคเตอร์มาช่วยในการนับสถานะคลื่นได้




5. ย้ำกันอีกครั้ง (รอบที่ 2) สถานะคลื่นเอลเลียตไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นนับคลื่นด้วยสถานะคลื่น 1234 และ 5 

หากทรงคลื่นนั้นเคลื่อนที่ผิดกฎ Impulse Wave จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบการนับเป็น Correction Wave หรือ Non Standard Correction Wave แทน ซึ่งอัตราส่วนและเป้าหมายตามทฤษฎีจะต้องถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วย




<<< สิ่งที่ผู้เข้าสัมมนา Workshop รอบ 3 ต้องเตรียมตัว >>>



1. อ่านหนังสือ Elliott wave “เล่นหุ้นอย่างไร ไม่มโน Limited Edition” ผลงานเขียนหนังสือของผมให้จบ รวมทั้ง VDO QR Code เนื้อหาเทคนิคเชิงลึกต่างๆที่สอดแทรกในหนังสือ(หรือใครไม่มีตำรา Elliott wave ของผม จะศึกษาจากเทคบุ๊คโดยตรงเลยก็ได้)

2. จดจำอัตราส่วน % Retrace และ % Target ให้ไดทุกรูปแบบ

3. สามารถคิดคำนวณเป็น รวมทั้งสามารถใช้เครื่องมือฟีโบนักชีอย่างถูกต้องตามทฤษฎี

4. ฝึกฝนการสร้างกรณีสมมติฐาน เงื่อนไขต่างๆอย่างหลากหลายโดยอิงกับทฤษฎี

5. ประเมินความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมจาก "แบบฝึกหัดนับคลื่นหุ้น"  คลิ๊กที่นี่

6. ศึกษา VDO Youtube หลักการวิเคราะห์ สอน Elliott Wave กับดัชนี SET Index ชุดที่ 1-6  คลิ๊กที่นี่

7. ศึกษาบทความ ตัวอย่างการวิเคราะห์คลื่นเอลเลียตกับทองคำ (Gold Spot) คลิ๊กที่นี่



โต่งเต่ง
11/1/61


รูปบรรยากาศงานสัมมนาครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 16 ธ.ค. 60
































X