สรุปหัวข้อสัมมนา คอร์สเรียน Elliott Wave เชิงลึก!


สรุปหัวข้อสัมมนาและภาพบรรยากาศคอร์สเรียน Elliott Wave


คอร์สเรียน สอน Elliott Wave


สรุปเนื้อหาหัวข้อสำคัญต่างๆในงานสัมมนา "เลิกมึน เลิกมั่ว เลิกมโน Elliott Wave ... สักที! "

บทความนี้จะรวบรวมคำถามปัญหาต่างๆของผู้เข้าสัมมนารวม เกี่ยวกับการเรียนรู้ทฤษฎี Elliott Wave ที่ผมได้มีโอกาสบรรยายถ่ายทอดความรู้ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ณ โรงแรมวินเซอร์ และบทความถัดไปจะเป็นหัวข้ออธิบายการวิเคราะห์ ทฤษฎี Elliott Wave Gold Spot (ทองคำ) เพิ่มเติมในส่วนของ Workshop








- Quality & Quantity


ต้องวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantity)ให้ได้มากกว่าข้อมูลเชิงคุณภาพ(Quality) เพื่อลดความมโน ในการวิเคราะห์





- ตัวละครใน Elliott Wave 


1.Glenn Neely ( หนังสือ Elliott Wave : Mastering Elliott Wave) คอนเซ็ปต์ในการวิเคราะห์มักให้เป้าหมาย เช่น Correction ปรับลักษณะแบบนี้แล้วเป้าหมาย Impulse Wave ถัดไปควรได้เท่าไหร่

ผมเองไม่เชื่อเป้าหมายตามทฤษฎีแบบนี้เสมอไปหรอกนะครับ

เนื่องจากเป้าหมายที่ว่านั้น เป็นการเก็บข้อมูลการวิจัยอ้างอิงตามสถิติที่เกิดขึ้นในอดีตเท่านั้น ซึ่งไม่อาจการันตีถึงเป้าหมายผลลัพธ์ในอนาคตว่าจะถูกต้องเสมอไป 


แล้วแบบนี้ต้องทำอย่างไรดีละ ?


2.ผมถึงต้องนำตัวละครที่ชื่อว่า Robert Prechter ( ตำรา Elliott Wave : Elliott Wave Principle ) เข้ามาช่วยทำการวิเคราะห์ ซึ่งคอนเซ็ปต์จะเน้นนับคลื่นย่อยใน Cycle ให้ครบเป็นหลัก

ดังนั้นเป้าหมายที่ "Glenn Neely" ระบุไว้นั้นจะเป็นจริงได้จำเป็นต้องเคลื่อนที่ให้ครบสถานะคลื่นย่อยตามมุมมองของ Robert Prechter ด้วยเช่นกัน


ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นเช่น Glenn Neely กล่าวไว้ว่าคลื่น 2 หากปรับตัวในรูปแบบ Correction Flat ขนาดใหญ่ Retrace ในอัตราส่วนที่มาก ดังนั้นผลลัพธ์เป้าหมายของคลื่น 3 ควรได้ความยาวอย่างน้อย 161.8% ของคลื่น 1


คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า Impulse คลื่น 3 นั้นจะไปถึงเป้าหมาย 161.8% ของคลื่น 1 ได้จริง?

คำตอบ ไม่ยากเลยครับเราก็เพียงเข้าไป Zoom พิจารณาสถานะคลื่นที่ 3 ที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ว่าครบ Cycle Impulse Wave ที่ระดับ 161.8% ของคลื่น 1 แล้วหรือยัง หากยังก็มีโอกาสที่ราคาจะเคลื่อนที่ไปถึง 161.8% ของคลื่น 1 หรือมากกว่า แต่ถ้าราคาเคลื่อนที่ครบสถานะคลื่นย่อยแล้วราคาก็อาจจะไปไม่ถึง 161.8% ของคลื่น 1 นั่นเอง



คำถามต่อมาคือ คุณโต่งเคยบอกไว้ว่าการนับคลื่นย่อยคือข้อมูลเชิงคุณภาพ(Quality) แล้วแบบนี้จะพิจารณาอย่างไร ?

คำตอบ ถูกต้องครับการนับคลื่นย่อยในมุมมองของผมถือว่าเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผมจึงใช่ตัวละครที่ 3 เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์นั้นคือ "โต่งเต่ง"



3.โต่งเต่ง มีหน้าที่แปลงข้อมูลของ Robert Prechter ที่ว่าการนับคลื่นย่อยเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพนั้น ให้กลายเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantity)ให้ได้มากที่สุด

โดยใช้สัญญาณ Divergence , Hidden Divergence , ทฤษฎี Gap รวมทั้งสร้างเงื่อนไขและสมมติฐานต่างๆตามทฤษฎี เข้ามาช่วยวิเคราะห์นั่นเอง



จากตัวอย่างเดิมที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น สมมติราคาวิ่งขึ้นยังไม่ถึง 161.8% ของคลื่น 1 หากเราประเมินสถานการณ์เบื้องต้นก็พอจะคาดการณ์ได้ว่า Impulse Wave ชุดคลื่นดังกล่าวอาจจะเคลื่อนที่ไม่ครบ 5 คลื่นย่อย



ดังนั้นตัวละครที่ 3 จึงมีบทบาทในการพิจารณา Zoom สถานะคลื่น 5 ย่อยในโครงสร้างเล็ก เพื่อพิสูจน์ว่าคลื่นดังกล่าวนั้นได้มีการเคลื่อนที่ครบ Loop ของ Cycle Impulse Wave แล้วหรือยัง เช่น

หากพิจารณาแล้วพบว่าเกิดสัญญาณ Convergence รวมทั้งราคายังไม่หลุด Breakaway Gap เราก็จะวิเคราะห์ได้ว่าราคาที่วิ่งขึ้นยังมีโอกาสเคลื่อนที่ขึ้นได้ต่อ เพื่อมุ่งหน้าสู่เป้าหมาย 161.8% ของคลื่น 1 นั่นเอง





- Divergence ช่วยในการนับคลื่นให้ง่ายขึ้น แต่ทุกคลื่นที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องมี Divergence


การจะนำ Divergence มาพิจารณาสถานะคลื่นเพียงอย่างเดียวนั้นยังถือว่าไม่ถูกต้อง

เนื่องจากจะทำให้เราจะพบสัญญาณ Divergence ซ้ำๆและขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งสถานะคลื่นบางชุดคลื่นก็ไม่จำเป็นต้องเกิดสัญญาณ Divergence ด้วยเช่นกัน

ดังนั้นเราจำเป็นต้องทราบสถานะคลื่นเอลเลียตเสีย (Elliott Wave)ก่อนและใช้อัตราส่วนทางทฤษฎีในการพิจารณาเป็นสิ่งสำคัญ ก่อนที่จะพิจารณาสัญญาณ Divergence





- Correction กลับหัวไฉนจึงสำคัญ


คนส่วนใหญ่ยังยึดติดกับการนับคลื่นโครงสร้าง Elliott Wave ในแบบขาขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงโครงสร้าง Elliott Wave ในแบบขาลง

ไม่ผิดครับเพราะทฤษฎีส่วนใหญ่ก็มักหยิบยกตัวอย่างขาขึ้นให้ได้ศึกษากันเป็นหลัก ข้อดีของการฝึกฝน Correction กลับหัวคือ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์

คลื่นย่อยที่แทรกอยู่ใน Correction คลื่นใหญ่ได้ ประโยชน์คือทำให้เราสามารถคาดการณ์ทิศทางความเป็นไปได้ของรูปแบบ Correction คลื่นใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั่นเอง



บทความถัดไปเป็นบทความวิเคราะห์ สอนนับคลื่น Elliott Wave ของกราฟราคาทองคำ เป็นเนื้อหาในงานสัมมนาคอร์สเรียน Elliott Wave เชิงลึกด้วยเช่นกัน เพื่อๆท่านใดไม่ได้เข้างานสัมมนา สามารถเรียนรู้ได้จากบทความที่ชื่อว่า "ทองคำจะเป็นอย่างไร มองไกลยันลูกบวช"


คลิ๊กที่นี่ >>> เพื่อเรียนรู้บทความวิเคราะห์ Elliott Wave ทองคำ



- โต่งเต่ง -
28/10/60





















































X