VDO บันทึกเทรดสดชุดที่ 114 ผิดพลาด(หน้าแตก) มหันต์! กับการเก็งกำไรหุ้น DW SET 50
อธิบายโครงสร้างคลื่นเอลเลียต (Elliott Wave)ในภาพใหญ่ของ SET50 และฟิวเจอร์ โดยพิจารณาสถานะคลื่นเล็กเพื่อเข้าเก็งกำไร
VDO บันทึกการเทรดชุดนี้เป็นการบันทึกการเทรดทั้งหมด 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 7,8,9 และ 12 มีนาคม 2561 โดยอธิบายโครงสร้างสถานะคลื่นเอลเลียตในภาพใหญ่โดยแบ่งออกเป็นกรณีต่างๆ พร้อมกับอธิบายจังหวะเข้าซื้อ และขายออก รวมทั้งข้อผิดพลาดต่างๆจากการเทรดครั้งนี้ [มี VDO อธิบายประกอบ]
รายละเอียดขั้นตอนการวิเคราะห์มีดังนี้ . . .
พิจาราสถานะคลื่นเอลเลียตในภาพโครงสร่างใหญ่ว่าเป็นการเคลื่อนที่ในรูปแบบ Non Standard Correction Small x Wave ซึ่งปัจจุบันกำลังฟอร์มตัวอยู่สถานะคลื่น x แบ่งกรณีสมมติฐานเงื่อนไขการวิเคราะห์ออกเป็น 3 กรณีดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1.1 Correction Flat ประเภท Strong b : คลื่น b ปรับตัวจบและเคลื่อนที่ลงคลื่น c (Impulse Wave หรือ Non Standard Correction) กรณีนี้มีโอกาสปรับตัวทั้งในรูปแบบ Irregular Flat หรือ Irregular Failure Flat เนื่องจากความไม่ชัดเจนของคลื่น b ที่วิ่งขึ้นในอัตราส่วนที่ก้ำกึ่งทั้งในรูปแบบ Irregular Flat และ Irregular Failure Flat ซึ่งปัจจุบันกำลังเคลื่อนที่ลงสถานะคลื่น c (Impulse Wave หรือ Non Standard Correction)
กรณีที่ 1.1 |
กรณีที่ 1.2 Correction Flat ประเภท Strong b โดยคลื่น b ปรับตัวไม่จบ : เนื่องจากคุณสมบัติคลื่น b ของ Correction Flat สามารถเคลื่อนที่ในรูปแบบ Trend ดังนั้นมีโอกาสที่คลื่น b จะปรับตัวในรูปแบบ Non Standard Correction Small x wave ประเภท Double Combination (Zigzag + Flat)
หมายเหตุ > แต่ด้วยความผิดปกติที่ Degree of time ของคลื่น b ที่มีขนาดใหญ่ ส่วนตัวผมจึงไม่ให้น้ำหนักในการพิจารณาของกรณีที่ 1.2
กรณีที่ 1.2 |
กรณีที่ 1.3 คลื่น x ปรับตัวในรูปแบบ Running Triangle หรือ Irregular Variation (อันเดียวกัน) ซึ่งปัจจุบันกำลังเคลื่อนที่ลงสถานะคลื่น c
กรณีที่ 1.3 |
2. วิเคราะห์คลื่นย่อยเพื่อหาจังหวะเข้าซื้อรายละเอียดการวิเคราะห์อยู่ใน VDO Youtube บันทึกการเทรดสดชุดที่ 114
สรุปข้อผิดพลาดจากการเทรดครั้งนี้ . . .
1.ไม้ที่ 1 เข้าซื้อ Call ณ ช่วงปรับ Correction ซึ่งกำลังเป็นคลื่นรีบาวด์ และชนแนวต้าน Breakaway Gap ผลลัพธ์ขาดทุน 1.38 %
2. ไม้ที่ 2 เข้าซื้อ Call โดยการไล่ราคา ไม่รอราคายืนเหนือจุด completely Retracement ซึ่งจุดเข้าซื้อถือว่าเป็นสถานะคลื่นย่อยที่เป็นการรีบาวด์เพื่อลงต่อ ผลลัพธ์ขาดทุน 5.9 %
3. ไม้ที่ 3 เข้าซื้อ Cut เพื่อหวังว่าราคาจะเคลื่อนที่ลงต่อ แต่หารู้ไม่ว่าการเคลื่อนที่ลงต่อนั้นคือ ณ สถานะปลายคลื่นของคลื่น c ในรูปแบบ Non Standard Correction ในรูปแบบ Small x wave จึงส่งผลให้ไม้นี้ขาดทุนไป 11 %
รายละเอียดทั้งจุดเข้าซื้อ และจุด Cut loss ต่างๆจะอธิบายใน VDo บันทึกการเทรดอย่างละเอียด ลองศึกษาดูได้เผื่อได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดต่างๆในการเทรดครั้งนี้ของผมเพื่อนำไปประยุกต์ในการเทรดของคุณให้เกิดประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยครับ
- โต่งเต่ง -
15 มี.ค. 61
ศึกษารายละเอียดที่ลิ้งค์นี้
(Update 15/3/61) กติกาเงื่อนไขสัมมนา Workshop ฟรี 500 เล่มแรก Click!